ภาษีสรรพสามิตคืออะไร
ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
- พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493
- พ.ร.บ. ไพ่ พุทธศักราช 2486
- พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509
- พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- จัดเก็บภาษีท้องถิ่นเพิ่มจากภาษีสรรพสามิต โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
- พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ
-
น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
-
เครื่องดื่ม
-
เครื่องไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศและโคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอี่น ๆ )
-
แก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ
-
รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
-
เรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
-
น้ำหอม หัวน้ำหอมและน้ำมันหอม
-
พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
-
สถานบริการ (สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ)
-
หินอ่อนและหินแกรนิต (ปัจจุบันยกเว้นภาษี)
-
รถจักรยานยนต์
-
แบตเตอรี่
-
สุรา
-
ยาสูบ
-
ไพ่
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต
ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และ พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 สินค้าและสถานบริการประเภท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องดื่ม เครื่องปรับอากาศ โคมระย้า แก้วและเครื่องแก้ว รถยนต์ น้ำหอม รถจักรยานยนต์ พรม แบตเตอรี่ เรือ สนามแข่งม้า และสนามกอล์ฟ ได้บัญญัติรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
-
ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม
-
ผู้นำเข้าสินค้า
-
ผู้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด (เช่น ผู้ดัดแปลงรถยนต์ ผู้กระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครอง ขาย และมีไว้เพื่อขาย ฯ ตามมาตรา 161, 162 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ภาระที่จะต้องเสียภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นเมื่อ
1. ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักร
-
เมื่อนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือนำสินค้าไปใช้ในโรงอุตสาหกรรม เว้นแต่เป็นการนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ใน คลังสินค้าทัณฑ์บน
-
เมื่อนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่เป็นการนำสินค้ากลับคืนไปเก็บไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนอีกแห่งหนึ่ง
-
เมื่อความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้า ทัณฑ์บน
2. สถานบริการ
-
เมื่อได้ชำระค่าบริการ
-
เมื่อความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระค่าบริการ
3. ในกรณีสินค้านำเข้า
-
เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากร สำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
-
ในกรณีสินค้าที่เก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้า ออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
4. กรณีดัดแปลงรถยนต์
-
เมื่อการดัดแปลงสิ้นสุดลง
หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
1. จดทะเบียนสรรพสามิต (ผู้ประกอบอุตสาหกรรม/สถานบริการ หากไม่จดทะเบียนสรรพสามิตมีความผิดปรับไม่เกิน 5,000 บาท) กรณีที่ ไม่ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต ได้แก่
-
ผู้นำเข้า
-
ผู้ดัดแปลงที่มิใช่ผู้ดัดแปลงประกอบกิจการเป็นธุรกิจ
2. แสดงใบทะเบียนไว้ในที่เปิดเผย
3. ในกรณีใบทะเบียนสรรพสามิตชำรุดหรือสูญหายต้องขอรับใบแทนใบทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบ
4. กรณีย้ายโรงอุตสาหกรรมให้แจ้งย้าย ณ สถานที่จดทะเบียนสรรพสามิต ก่อนย้ายไม่น้อยกว่า 15 วัน
5. กรณีเลิกหรือโอนกิจการให้แจ้ง ณ สถานที่จดทะเบียนก่อนเลิกหรือโอนกิจการ 15 วัน
6. กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมตาย ให้ทายาทยื่นขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน
7. ทำบัญชีและงบเดือน แล้วส่งงบเดือนต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
8. แจ้งวัน เวลา ทำการปกติหรือวันหยุด ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกำหนดวัน เวลา ให้แจ้งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน
9. แจ้งราคาขายสินค้า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงราคาให้แจ้งก่อนวันที่จะเปลี่ยนราคาไม่น้อยกว่า 7 วัน
10. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระค่าภาษีสรรพสามิต (ผู้ประกอบอุตสาหกรรม/สถานบริการ หลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีมีความผิดจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท กรณีนำสินค้าเข้าโดยไม่เสียภาษีมีความผิดจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5-20 เท่า ของค่า ภาษีที่ จะต้องเสีย)
สถานที่ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีสรรพสามิต
1. ในกรณีที่โรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมสรรพสามิต
2. ในกรณีที่โรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด หรือสำนักงานสรรพสามิตอำเภอใน พื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการนั้นตั้งอยู่
3. ในกรณีที่มีโรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการหลายแห่ง อาจยื่นคำร้องต่ออธิบดี ขอยื่นรวม ณ กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิต แห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่ออธิบดีเห็นสมควรจะอนุญาตก็ได้
4. ในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ให้ยื่น ณ กรมศุลกากร หรือด่านศุลกากร หรือที่ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดให้มีการผ่านพิธีศุลกากร สำหรับสินค้านำเข้า
เขตกรุงเทพมหานคร ฝ่ายทะเบียนและใบอนุญาต สำนักบริหารการจัดเก็บภาษี 2 กรมสรรพสามิต
ต่างจังหวัด สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดที่โรงอุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่
การยกเว้น-การคืนภาษี
กรณีส่งออกนอกราชอาณาจักร (ม.100)
1. กรณีส่งออกนอกราชอาณาจักร (ม.100)
2. กรณีเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ (ม.104) เช่น เครื่องดื่ม
3. ของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามภาค 4 กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร (ม.99)
4. กรณีบริจาค (ม.102) เป็นการสาธารณกุศล ผ่านส่วนราชการ, องค์การสาธารณกุศล (ยกเว้นน้ำมันฯ)
5. กรณีจำหน่ายแก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ฯ (ม.102)
6. น้ำมันฯ เติมอากาศยานหรือเรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ไปต่างประเทศ (ม.102)
7. กรณีใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต/ใช้ในอุตสาหกรรม (ม.103) เช่น โซลเว้นท์
7.1. สินค้านำเข้าที่ส่งกลับออกไป (ม.105)
7.2. สินค้าส่งออก กรณีผลิตด้วยสินค้านำเข้าที่เสียภาษีแล้ว (ม.106) เช่น แก้วเลดคริสตัล
7.3. กรณีเสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสีย (ม.107)
การขยายเวลาการชำระภาษี
โดยปกติสินค้าจะต้องชำระภาษีสรรพสามิตก่อนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน แต่ก็สามารถขยายเวลาชำระภาษีได้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกันได้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังได้กำหนดวงเงินประกันค่าภาษีให้คิดเฉลี่ยจากยอดค่าภาษีในระยะ 6 เดือนที่ล่วงมาแล้ว (กรณีไม่เคยนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดวงเงินประกันค่าภาษีได้ตามความเหมาะสม เมื่อครบ 6 เดือน จึงคำนวณค่าเฉลี่ยใหม่) ซึ่งแต่ละสินค้าจะมีวงเงินค่าประกันภาษี ดังนี้
-
เครื่องขายเครื่องดื่ม ไม่เกิน 300,000 บาท
-
เครื่องปรับอากาศ โคมระย้า ไม่เกิน 100,000 บาท (ต่อสินค้า)
-
แก้วและเครื่องแก้ว น้ำหอม พรม แบตเตอรี่ ไม่เกิน 10,000 บาท (ต่อ 1 สินค้า)
-
เรือ รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 200,000 บาท (ต่อ 1 สินค้า)
-
รถยนต์ ไม่เกิน 1,000,000 บาท
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องยื่นคำขอตามแบบ ภษ. 01-05 ต่ออธิบดีหรือสรรพสามิตจังหวัด และวางหลักประกันเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาล หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือโฉนดที่ดินล่วงหน้า 1 เดือน โดยมีระยะเวลาประกันค่าภาษี 1 ปี นับแต่วันอนุมัติ
เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่จะต้องเสียเบี้ยปรับมี 2 กรณี คือ
1. กรณีมิได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในกำหนดเวลา ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสรรพสามิตไว้แล้วหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของเงินภาษี
2. กรณีที่ได้ยื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป ให้เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่เสียขาดไปนั้น
ทั้งยังต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) อีกด้วย
คำที่เกี่ยวข้องภาษาไทย :
บริการวางระบบงานและบัญชี,บริการให้คำปรึกษาด้านระบบบัญชี,บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร,บริการที่ปรึกษาทางภาษีอากร
คำที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ :
accounting & tax advisory services,accounting consultation,
accounting system setup consultation,Financial accounting system setup
-------------------------------------
AR GROUP : ผู้ให้บริการความรู้