The Knowledge Provider | Advanced Research Group

Back

หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

09-01-2017

   หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

(1) เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

(2) ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย

(3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้ โดยจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน

(4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ก่อนได้รับผลประโยชน์

ตัวอย่างที่ 1 นาย ข. มีเงินได้ปีละ 1,280,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 143,500 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 128,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 121,000 บาท นาย ข. สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ดังนี้

(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,280,000 x 15 % = 192,000 

(2) นาย ข. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 143,500 บาท ให้ไปใช้สิทธิหักประกันชีวิตปกติก่อน (10,000 + 90,000) = 100,000 บาท
ส่วนที่เหลือนำไปใช้สิทธิค่าลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ 43,500 บาท (143,500 - 100,000)

(3) นำยอดค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ 43,500 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าไม่เกิน 192,000 บาท (15 % ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท)

(4) นำยอดค่าประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 43,500 + 128,000 + 121,000 = 292,500 บาท

นาย ข. สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหัก เป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติ 100,000 บาท และหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 43,500 บาท

ตัวอย่างที่ 2 นาย ง. มีเงินได้ปีละ 1,350,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพปีละ 120,000 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 250,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 135,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 100,000 บาท นาย ง. สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ดังนี้

(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,350,000 x 15 % = 202,500 บาท

(2) นาย ง. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 120,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันแบบปกติก่อน 100,000 บาท ส่วนที่เกิน 100,000 บาท(20,000 บาท) ตัดทิ้งเพราะหักเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติครบถ้วนแล้ว

(3) นำยอดเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายจริง 250,000 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าเกิน 15% (202,500 บาท) และเกิน 200,000 บาท จึงสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้เต็ม 200,000 บาท

(4) นำยอดค่าเบี้ยประกันภัยแบบบำนาญที่สามารถหักได้ตาม 3. ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 200,000 + 135,000 + 100,000 = 435,000 บาท พบว่าไม่เกิน

นาย ง. สามารถหักเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพได้ 100,000 บาท และหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 200,000 บาท 

ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้มีเงินได้ทุกประเภทภาษีรวมทั้งปีเท่ากับ 3,400,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของตนเองไว้รวมปีละ 60,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญไว้ 300,000 บาท และซื้อหน่วยลงทุน RMF ไว้ในปีเดียวกันถึง 360,000 บาท นาย ก. สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ดังนี้

(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้มีเงินได้ทั้งปี 3,400,000 บาท ไม่เกินร้อยละ 15 มีเพดานสูงสุดเท่ากับ = 3,400,000 X 15% = ไม่เกิน 510,000 บาท

(2) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 60,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตปกติก่อน 60,000 บาท คงเหลืออีก 40,000 บาท (100,000 - 60,000 = 40,000 ) จึงนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาใช้สิทธิให้ครบ 100,000 บาท 

(3) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 300,000 บาท คงเหลืออีก 260,000 บาท (300,000 - 40,000) นำมาเปรียบเทียบกับตาม 1. พบว่าไม่เกิน จึงสามารถใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้เต็ม 200,000 บาท

(4) นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท ไปรวมกับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF 360,000 บาท = 560,000 (200,000 + 360,000) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท พบว่า เกินวงเงินที่สามารถหักได้รวม 60,000 บาท (560,000 - 500,000 = 60,000) 

(5) นำสิทธิที่สามารถหักเบี้ยประกันแบบบำนาญตาม 3. 200,000 บาท มาหักกับวงเงินที่เกินสิทธิหักได้ 60,000 บาท คงเหลือสิทธิที่หักได้จริง 140,000 บาท (200,000 – 60,000 = 140,000 บาท )

นาย ก. สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 180,000 บาท โดยนำไปหักลดหย่อนในส่วนของเงินประกันชีวิตปกติ 40,000 บาท รวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 60,000 บาท รวมเป็นเบี้ยประกันชีวิตปกติ 100,000 บาท และในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญอีก 140,000 บาท
คำที่เกี่ยวข้องภาษาไทย :
บริการวางระบบงานและบัญชี,บริการให้คำปรึกษาด้านระบบบัญชี,บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร,บริการที่ปรึกษาทางภาษีอากร
คำที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ :
accounting & tax advisory services,accounting consultation,
accounting system setup consultation,Financial accounting system setup
-------------------------------------
AR GROUP : ตอบแทนสู่สังคมไทย

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back