The Knowledge Provider | Advanced Research Group

Back

จดโดเมน ถือเป็นสินค้าหรือบริการที่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่?

จดโดเมน ถือเป็นสินค้าหรือบริการที่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่?

12-06-2019

         นับว่าเป็นคำถามที่ไม่มีวันจบสิ้น เพราะเรื่องภาษีมีรายละเอียดที่ลงลึกไปมากกว่านั้น เอาเป็นว่าเราจะมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษี และการจดโดเมนกันในบทความนี้แล้วกัน

 

          เริ่มกันที่ ค่าบริการ คือ หนึ่งในค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ เพื่อชำระค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ซื้อ โดยปกติเราจะจ่ายค่าบริการก็ต่อเมื่อมีการเริ่มใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ ซึ่งครอบคลุมไปถึงค่าใช้จ่ายด้านการดูแลและประมวลผลระบบด้วย

          ค่าบริการจดโดเมน คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อมีการจดโดเมน เพื่อเป็นการซื้อชื่อบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดเมนจะอยู่กับเราต่อไปก็ต่อเมื่อได้มีการจ่ายค่าบริการเพื่อต่ออายุโดเมน

          จดโดเมน คือ กระบวนการของการลงทะเบียนชื่อโดเมน ซึ่งจะระบุที่อยู่ IP แต่อยู่ในรูปแบบชื่อที่จำง่ายกว่า และใช้ใน URL เพื่อระบุหน้าเว็บไซต์ โดยธุรกิจที่ให้บริการจดโดเมน เรียกว่า “ผู้ให้บริการจดโดเมนเนม (Domain Name Registrar)

หลังจดโดเมน และชำระค่าบริการจดโดเมน ผู้ซื้อโดเมนจะได้รับสิทธิ์ในการนำชื่อโดเมนไปใช้กับเว็บไซต์ของตนเองทันที

 

          หักภาษี ณ ที่จ่าย คือเงินที่ผู้จ่ายต้องหักไว้ ตามอัตราที่กำหนด ก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน หลังจากนั้นนำเงินที่หักไว้ส่งให้กับกรมสรรพากร ซึ่งอยู่ ๆ ผู้จ่ายจะหักไปเฉย ๆ มันคงไม่แฟร์กับผู้รับเงิน ดังนั้นทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับเงินด้วย เพื่อให้ผู้รับเงินนำไปเป็นหลักฐานกับกรมสรรพากรว่าถูกหักภาษีเรียบร้อยแล้ว โดยอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแตกต่างกันไปเริ่มต้นตั้งแต่ร้อยละ 1 ไปจนถึงร้อยละ 10

 

สำหรับการจดโดเมน กับการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

         

          อ้างอิงข้อมูลของกรมสรรพากร ตามข้อ 8 ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ระบุว่า การใช้บริการใด ๆ ที่ไม่สามารถจับต้องได้ อย่างการใช้บริการ Web Hosting หรือจดโดเมน เป็นต้น ถือเป็นการให้บริการ เมื่อผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยเป็นเงินได้ประเภทค่านายหน้า ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิ์อย่างอื่น ผู้จ่ายที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ที่จ่าย ส่วนมูลนิธิหรือสมาคม มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ที่จ่าย

 

          อย่างไรก็ตามบริษัทผู้ขาย หรือผู้รับเงินจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น นอกจากผู้จ่ายเงิน หรือผู้ซื้อต้องเป็นนิติบุคคลแล้ว ค่าบริการก่อนรวม VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเกิน 1,000 บาท/ปีด้วย ถึงจะหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ หลังจากนั้นให้ผู้จ่ายเงิน หรือผู้ซื้อส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้ให้บริการจดโดเมน หรือผู้ขายภายใน 60 วัน หลังจากวันที่ชำระเงิน

 

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back