The Knowledge Provider | Advanced Research Group

Back

จดโดเมน : โดเมน gTLD และ ccTLD มีความแตกต่างกันอย่างไร

จดโดเมน : โดเมน gTLD และ ccTLD มีความแตกต่างกันอย่างไร

12-01-2023

        ในโลกนี้มีการแบ่งแยกประเภทของโดเมนออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งในแต่ละประเภทจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อจดโดเมนแนะนำให้พิจารณาก่อนเลือกโดเมนสำหรับเว็บไซต์ เพื่อให้ไม่สับสนในวันนี้เราจะมาพูดถึงประเภทโดเมนทั่วไประดับบนสุด 2 ประเภทที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน คือ gTLD และ ccTLD กัน เผื่อจะมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้จดโดเมน

 

          สำหรับการจดโดเมน จะมีประเภทระดับโดเมนอยู่ 2 ประเภทที่กำลังได้รับความนิยมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งก็คือ gTLD โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป กับ ccTLD โดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ เห็นความแตกต่างกันของทั้ง 2 ประเภทขึ้นมาบ้างแล้ว ต่อไปมาดูกันต่อว่าทำไมอีกอันถึงเป็นทั่วไป แล้วแบบรหัสประเภทนี่ไม่ใช่ทั่วไปหรอ?

 

จดโดเมนด้วย ccTLD เพราะอะไร?

         ccTLD (Country Code Top-Level Domain) ขึ้นชื่อว่าเป็นโดเมนประเภทรหัสประเทศ แน่นอนต้องมีอะไรที่บ่งบอกถึงประเทศและต้องมีการใช้เฉพาะประเภทนั้น ๆ โดเมนประเภทนี้มีอักขระ 2 ตัวเท่านั้น (2ตัวมันยังไง?)

         โดเมนประเภทรหัสประเทศจะมีอักขระที่เป็นตัวอักษรย่อของประเทศเพียง 2 ตัว อาทิเช่น Thailand : TH, Korea : Kr, Japan : JP, United States : US หรือ France : Fr เป็นต้น การจดโดเมนประเภทนี้จะต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติโดยองค์กรในแต่ละประเทศ อย่าง .TH ของประเทศไทยอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC)

          ccTLD เป็นประเภทระดับโดเมนที่เหมาะกับธุรกิจหรือเว็บไซต์ที่ต้องการบุกตลาดและทำการค้าในประเทศที่เป็นเป้าหมาย เพราะส่วนหนึ่งเว็บไซต์ที่ใช้โดเมนลงท้ายด้วยชื่อประเทศจะต้องมีภาษาประเทศนั่นอยู่แล้ว เวลาลูกค้าค้นหาก็จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม ccTLD ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่นต้องมีบริษัทที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศนั้น เป็นต้น

 

จดโดเมนด้วย gLTD เพราะอะไร?

         gTLD (Generic Top Level Domain) มาดูในส่วนของโดเมนทั่วไป ทั่วไปก็คือคำทั่ว ๆ ไป อาทิเช่น .Com, .Net, .Shop, .Travel หรือ .Online เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะมีอักขระตั้งแต่ 3 อักขระขึ้นไปและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรหัสประเทศใด ๆ 

         โดเมนประเภท gTLD จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรระหว่างประเทศอย่าง Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ดังนั้นจึงมีผู้ให้บริการรับจดโดเมน เพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อและจดโดเมนให้กับเว็บไซต์ โดยที่เราไม่ต้องทำเอง

        โดเมนประเภท gTLD เหมาะกับเว็บไซต์ที่อยากเข้าถึงตลาดทั่วโลกด้วยภาษาท้องถิ่น หรือภาษาสากลอย่างภาษาอังกฤษ ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่มุมไหนของโลกนี้ พวกเขาจะค้นหาคุณเจอได้ง่าย ๆ แถมยังสามารถบอกประเภทธุรกิจได้อย่างชัดเจนด้วยส่วนขยายโดเมนที่ตรงกับธุรกิจของคุณ เช่นเป็นบริษัททัวร์ สามารถใช้ .Travel ได้ เป็นต้น

 

จดโดเมนแบบไหนดีกว่า

        เอาเป็นว่ามันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของบริษัทเองว่าต้องการบุกตลาดแบบกว้าง หรือเฉพาะแค่ในประเทศนั้น ๆ เท่านั้น เพราะทั้งสองประเภทมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปอีก ดังต่อไปนี้

         ccTLD เป็นประเภทโดเมนที่เป็นตัวบ่งชี้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับ Google ว่าหน้าเว็บของคุณมุ่งไปประเทศใดประเทศหนึ่ง เนื่องจากโดเมนมีการเชื่อมโยงกับบางประเทศ สิ่งนี้จะช่วยวางตำแหน่งในท้องถิ่นได้ดี แต่มีบางคนตั้งคำถามว่าถ้าเราใช้ gTLD แต่มีหน้าเว็บที่แบ่งแยกเป็นภาษาซึ่งไม่ได้ใช้โดเมนรหัสประเทศก็ได้เหมือนกันสิ 

         คำตอบคือได้ แต่การแบ่งตำแหน่งในเซิร์ฟเวอร์กับแบ่งตำแหน่งที่ตั้งของเว็บไซต์ ไม่เหมือนกันนะ เพราะเครื่องมือค้นหารู้จักส่วนขยายโดเมนที่เป็นรหัสประเทศมากกว่าตำแหน่งของเซิร์ฟเวอร์

          ในขณะที่ ccTLD แบ่งแยกเป็นโดเมน แต่ gTLD จะพึ่งพาไดเรกทอรีย่อย เช่น www.ar.co.th/home/th เป็นต้น ซึ่ง gTLD ได้เปรียบตรงที่ โดเมนสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง มี .Com ที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานของโดเมนนั่นเอง  

 

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back