คลังความรู้ สู่สังคมไทย | Advanced Research Group

Back

6 สิ่งสำคัญของการออกแบบสอบถามที่มีประสิทธิภาพ

6 สิ่งสำคัญของการออกแบบสอบถามที่มีประสิทธิภาพ

16-01-2019

          หากคุณเคยทำวิจัย คุณจะรู้ว่าการออกแบบสอบถามเป็นหนึ่งจากหลาย ๆ ส่วนที่ยาก และเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการวิจัยตลาด ซึ่งองค์ประกอบของแบบสอบถามจะแตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อคุณต้องสร้างแบบสอบถามอาจจะต้องลำบากไปสักนิด วันนี้เราจะมาลดความยากเหล่านั้นได้ด้วย 7 ขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยคุณเมื่อออกแบบสอบถาม

1. ตัดสินใจว่าต้องใช้ หรือต้องการข้อมูลใดบ้าง

          จุดเริ่มต้นของผู้วิจัย คือการหาข้อมูลมาประกอบการวิจัย เพื่อนำมาประกอบการวิจัยในขั้นตอนต่าง ๆ และช่วยในการสรุปข้อมูล ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องเรียบเรียงวัตถุประสงค์และข้อมูลที่จำเป็น

2. สร้างลิสต์ของคำถามคร่าว ๆ

          ผู้วิจัยจะต้องทำรายการคำถามทั้งหมดที่อยู่ในแบบสอบถาม ซึ่งจุดมุ่งหมายในการลิสต์คำถาม คือ จะต้องมีความครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

3. นำรายการคำถามที่คิดไว้มาปรับแต่ง ใช้ถ้อยคำที่ดี

          ในขั้นตอนนี้คำถามจะต้องได้รับการพัฒนาปรับแต่งให้เรียบร้อย และสร้างคำตอบที่ถูกต้อง การเขียนคำถามที่ดี คือ ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณต้องการทราบ หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ความพึงพอใจในการใช้เครื่องสำอาง ก็ต้องมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง หรือการใช้เครื่องสำอาง

4. พัฒนารูปแบบการตอบกลับ

          ทุก ๆ คำถามต้องการคำตอบ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นต่อคำถาม ดังนั้นการคิดคำตอบก็สำคัญเท่ากับการตั้งคำถาม ในความเป็นจริงการพิจารณาคำตอบจะช่วยให้คุณสามารถตั้งคำถามได้อย่างถูกต้อง

5. เรียงลำดับคำถามที่เหมาะสม

          การเรียงลำดับคำถามมีความสำคัญ เนื่องจากจะทำให้การตอบคำถาม หรือการสัมภาษณ์ให้ไหลไปตามทิศทางที่เราต้องการ อาทิเช่นการวางคำถามสูบบุหรี่ หรือไม่สูบบุหรี่ ถัดจากนั้นจะต้องเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ถ้าหากคนไม่สูบบุหรี่ก็ให้ข้ามไปทำข้ออื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น แต่สำหรับคำถามที่เกี่ยวกับการรับรู้ถึงแบรนด์จะถูกเรียงไว้ในลำดับแรก ๆ ของแบบสอบถาม เนื่องจากเป็นคำถามที่ต้องการถามการรับรู้ไม่ต้องกระตุ้นผู้ตอบแบบสอบถาม หลังจากนั้นจะตามด้วยคำถามที่ต้องกระตุ้นการรับรู้ของผู้ตอบแบบสอบถามว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อผลิตภัณฑ์และบริการของเรา

6. ลองทดลองทำแบบสอบถาม และทำการแก้ไขให้มีความเหมาะสม

          สำหรับขั้นตอนสุดท้าย คือ การทดสอบแบบสอบถามว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ จุดประสงค์หลักของการทดสอบ คือ การตรวจสอบว่าแบบสอบถามต้องมีการเปลี่ยนแปลงจุดใดบ้าง หากมีข้อผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ก่อนนำไปให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบสอบถาม

 

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back