รอบรู้เรื่องภาษี : Indirect Tax หรือภาษีทางอ้อม คืออะไร
ไหนใครไม่รู้จัก “ภาษีทางอ้อม” หรือ “Indirect Tax” บ้าง...ใครยังไม่รู้จักต้องรู้ไว้แล้วนะ เพราะภาษีทางอ้อมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีเงินได้และมนุษยืเงินเดือนทุกคน
ภาษีทางอ้อม หรือ Indirect Tax คืออะไร?
ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยหน่วยงานกลางอย่างกรมสรรพากรเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริโภค การบริการ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในทรัพย์สินหรือรายได้ รวมถึงภาษีศุลกากรที่ต้องชำระในการนำเข้า ภาษีสรรพามิตที่จ่ายในการผลิต และภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้นตอนของการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทย เป็นภาษีที่ผลักภาระให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคให้รับภาระภาษีแทนผู้ขาย ซึ่งมี 3 ประเภทด้วยกันที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เมื่อทำการซื้อสินค้าและบริการ ได้แก่
-
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือที่คุ้นชินกันในคำว่า “แวต (VAT)
-
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specification Business Tax) เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศไทย
-
อากรแสตมป์ (Stamp Duty) จะมีลักษณะการจัดพิมพ์คล้าย ๆ กับแสตมป์ไปรษณีย์
ทั้งหมดนี้ประกอบเรียกเป็นภาษีทางอ้อม ซึ่งจะแตกต่างจากภาษีทางตรง เนื่องจากภาษีทางอ้อมไม่สามารถนำมาเรียกเก็บได้โดยตรงกับรายได้ของผู้บริโภค เพราะมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ดังนั้นจึงเรียกเก็บภาษีทางอ้อมจากผู้บริโภค เมื่อมีการซื้อสินค้าและบริการแทน
หลาย ๆ ประเทศมีแนวโน้มที่จะขึ้นภาษีทางอ้อม เพื่อสร้างรายได้ที่สูงขึ้น เพื่อนำไปเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศและมอบสวัสดิการให้ประชาชน อย่างไรก็ตามอัตราภาษีทางอ้อมจะต้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด