คลังความรู้ สู่สังคมไทย | Advanced Research Group

Back

บุคคลธรรมดากับนิติบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างไร

บุคคลธรรมดากับนิติบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างไร

24-08-2023

       ก่อนที่เราจะเข้าไปในโลกของธุรกิจ ต้องทราบก่อนว่า ประเภทของการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ดำเนิการถูกว่าจะต้องทำบัญชีรูปแบบไหน ต้องทำภาษีอย่างไร และวิธีการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของผู้ประกอบการ เพราะหากมีความผิดพลาดอาจนำมาซึ่งปัญหาไม่รู้จบ โดยการทำธุรกิจมีด้วยกัน 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา และ การทำธุรกิจรูปแบบนิติบุคคล มาดูกันว่าทั้ง 2 ธุรกิจมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

การทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา

        สำหรับธุรกิจบุคคลธรรมดา แน่นอนว่าบุคคลที่เลือกทำธุรกิจรูปแบบนี้ส่วนมากจะเป็นบุคคลที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจขนาดเล็ก ที่เป็นเจ้าของและลงทุนเพียงคนเดียว รวมถึงการทำธุรกิจในลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้ทำการจดทะเบียน โดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน แต่มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้มีเงินลงทุนมากมายขนาดจะเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่

        วิธีการทำบัญชีและทำภาษีของธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดานั้นไม่มีอะไรมาก เพราะไม่จำเป็นต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี แต่สิ่งที่ยังคงต้องทำคือจัดทำรายการเงินสดรับ จ่ายเพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายรับและรายจ่าย รวมถึงผลกำไรในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐต้องการตรวจสอบ หรือใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

        ดังนั้นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้จึงเป็นการจัดตั้งง่าย มีความคล่องตัวสูง แต่ความน่าเชื่อถือจะมีน้อยกว่าเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในแง่ความรับผิดในหนี้สิน เนื่องจากเจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด

การทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล

        ธุรกิจรูปแบบนิติบุคคลจะมีความซับซ้อนมากกว่าการทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา เพราะรูปแบบนิติบุคคลเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ซึ่งต้องดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ด้วย ทำให้การทำธุรกิจรูปแบบนี้จะต้องมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี พร้อมทั้งมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อให้การทำบัญชีถูกต้องตามหลัก และมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

        ธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลต้องอาศัยความน่าเชื่อถือเพื่อขยายกิจการ ติดต่อกับลูกค้าหรือแม้กระทั่งการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะมีข้อมูลในการดำเนินงานที่ถูกต้องครบถ้วน ทำให้ธนาคารหรือผู้ให้สินเชื่อรู้ถึงสภาพทางการเงินที่แท้จริงของธุรกิจ

        นอกจากนี้ ถ้ามองในง่ของความเสี่ยงและความรับผิดในหนี้สิน ธุรกิจประเภทนี้ก็จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า  เพราะธุรกิจจะถูกแยกจากตัวเจ้าของกิจการอย่างชัดเจน รายรับเข้าบัญชีบริษัท  และพวกหนี้สินของกิจการยังจะเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นอีกด้วย

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back