คลังความรู้ สู่สังคมไทย | Advanced Research Group

Back

รอบรู้ 4 ภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs

รอบรู้ 4 ภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs

10-01-2023

      สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะทำธุรกิจ SME หรือรูปแบบธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจขนาดกลาง นอกจากจะต้องมีการทำบัญชีแล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านภาษีอีกด้วย เพราะภาษีคือ ภาระหรือสิ่งที่รัฐจัดเก็บ จากประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นรายได้นำมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นธุรกิจที่มีรายได้จะต้องนำมาคำนวนเพื่อยื่นภาษีและเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งภาษีกับธุรกิจเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน เพราะมีหลายภาษีที่ต้องยื่นและต้องเสีย และยังมีค่าลดหย่อนอีกหลายอย่างที่ทางรัฐมีให้กับผู้ประกอบธุรกิจ

      เนื่องจากธุรกิจ SMEs กำลังเติบโตมาขึ้นในประเทศไทย ทั้งที่ประกอบธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดา และคณะบุคคลหรือห้างหุ้น ส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้น ส่วนจำกัด บริษทัจำกัดหรือกิจการร่วมค้า ซึ่งจะประกอบธุรกิจขายสินค้า ผลิตสินค้า หรือให้บริการ ซึ่งวันนี้เราจะมากล่าวถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SMEs กันว่าจะมีอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่อยากทำธุรกิจรูปแบบ SMEs

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล

      เป็นภาษีที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี เพราะเป็นภาษีทางตรงที่รัฐเรียกเก็บจากเงินได้ของผู้ที่มีรายได้ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการประกอบธุรกิจที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีแบบ “บุคคลธรรมดา” และยื่นภาษี คือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90/91 แต่ถ้าหากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็น “นิติบุคคล” จะต้องเสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล โดยจะต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 และภ.ง.ด.50/52/55 ภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

      ภาษีจัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากผู้ประกอบการได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการและออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะต้องจัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ได้แก่ ภ.พ.30 หรือ ภ.พ. 36

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

     เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะ เช่น การรับจำนำ, ธุรกิจเกี่ยวกับการธนาคาร และการรับประกันชีวิต ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ และจะต้องทำการยื่น ภ.ธ.40

อากรแสตมป์

     เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการทำตราสาร หรือธุรกรรมบางอย่าง ซึ่งมีอยู่  28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน, จ้างทำของ, กู้ยืมเงิน, เช่าซื้อทรัพย์สิน, จ้างทำของ, กู้ยืมเงิน และอื่น ๆ

 

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back