ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ในประเทศไทย
อุตสาหกรรม e-Commerce ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทั้งการซื้อขายสินค้าและบริการหรือการโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากธุรกิจ e-Commerce เป็นการดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้
โดยการเกิดขึ้นของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซนับพันราย เป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน แม้ว่าจะยังมีการเข้าชม
ผ่านเดสก์ท็อปมากเหมือนเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นได้เมื่อผู้บริโภคให้ความสนใจกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ตรงหน้า
ที่มีความสะดวกสบายมากกว่า โดย iPrice ได้เปิดตัวรายงานสถานะอีคอมเมิร์ซในปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ในประเทศไทยที่ผู้ประกอบการควรทราบ ดังต่อไปนี้
อัตราการเข้าชมเว็บไซต์บนมือถือเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูเหมือนจะหยุดไม่อยู่ เนื่องจากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการเข้าชมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 19 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ในขณะนี้มีสัดส่วนถึง 72 เปอร์เซ็นต์ในการเข้าชมธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านมือถือ รองจากอินโดนีเซีย (87 เปอร์เซ็นต์) เราจะสามารถเห็นได้ชัดว่าการซื้อขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก เนื่องจากสะดวกในการเลือกสินค้า และไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถซื้อสินค้าได้เหมือนกัน
อัตรา Conversion ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อัตรา Conversion เป็นเปอร์เซ็นต์ที่เปลี่ยนการเข้าชมเว็บไซต์เป็นการซื้อผลิตภัณฑ์ โดยการวิจัยของ Techinasia พบว่าเวียดนามมีอัตรา Conversion สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศไทยและฟิลิปปินส์มีอัตรา Conversion ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
การเปรียบเทียบอัตรา Conversion ของอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อปแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีอัตรา Conversion ของเดสก์ท็อปสูงกว่ามือถือ 1.3 เท่า นั่นหมายความว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เนื่องจากสามารถเข้าชมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อมีการดำเนินการชำระเงิน
แม้ว่าอัตรา Conversion บนเดสก์ท็อปจะสูงกว่าโทรศัพท์มือถือ แต่บริษัทอีคอมเมิร์ซไม่ควรมุ่งเน้นไปที่เดสก์ท็อป เนื่องจากทุก ๆ วันนี้มีการเข้าชมจากอุปกรณ์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น
Basket Size ของประเทศไทยครองอันดับที่ 4
Basket Size เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ซึ่งส่งผลต่อการทำกำไรของธุรกิจ การวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Basket Size กับ GDP per capita (PPP) ดังนี้สิงคโปร์มี Basket Size สูงสุดที่ 91 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมี GDP ต่อหัวเท่ากับ 90,530 เหรียญสหรัฐฯ ในทางกลับกันเวียดนามมีคะแนนต่ำสุดคือ Basket Size อยู่ที่ 23 เหรียญสหรัฐฯและ GDP ต่อหัว 6,880 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ไทย Basket Size อันดับกลาง ๆ อยู่ที่ 42 เหรียญสหรัฐฯโดยมี GDP ต่อหัว 17,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้นการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตว่าผู้บริโภคจะเน้นไปที่การซื้อขายสินค้าผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่า นี่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีการเติบโตขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซเข้ามาลงทุนในไทยทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตไปด้วยสำหรับผู้ที่สนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปได้ที่ : https://ipricethailand.com/insights/stateofecommerce2017/
อ้างอิง : techinasia