สิงคโปร์ปรับแก้กฎหมายภาษี คาดว่ารายได้ภาษีที่ได้รับจริงจะไม่เกิน 90 ล้านดอลลาร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ Heng Swee Keat ประกาศแก้ไขภาษีขายสินค้าและบริการ (GST) เป็นภาษีทางอ้อมที่ประเทศไทยของเราเรียกว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” สำหรับการเรียกเก็บสินค้าและบริการนำเข้า ซึ่งการแก้ไขของทางรัฐบาลสิงคโปร์จะทำให้มีรายได้ประมาณ 90 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยจะมีผลในปี 2020 อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเสริมอีกว่าในการอภิปรายเรื่องงบประมาณของเขาว่า 'เราจะต้องแสดงให้เห็นชัดเจนว่านี่เป็นการปรับเปลี่ยน เพื่อป้องกันฐานรายได้ที่ได้รับจริงในปัจจุบันของเราจากการถูกกัดกร่อน เนื่องจากมีการทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น'
คำกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทำให้หลาย ๆ คนต่างสงสัยและถามกลับว่า “แล้วภาษีจาก Netflix ที่เป็นการซื้อบริการออนไลน์สร้างรายได้เพิ่มหรือไม่” ซึ่งในปัจจุบันมีซัปพลายเออร์หรือผู้ให้บริการต่างชาติสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก โดยการบริการออนไลน์ให้กับผู้บริโภคในสิงคโปร์ได้สร้างรายได้กว่า 100,000 ดอลลาร์ ดังนั้นจึงต้องมีการลงทะเบียนเพื่อจ่ายภาษีขายสินค้าและบริการด้วย
จากปฏิกิริยาของผู้ประกอบธุรกิจในสิงคโปร์ต่างกล่าวกันว่าการปรับแก้กฎหมายภาษีจะส่งผลกระทบต่อบริษัทที่อยู่ในประเทศจำนวนมาก โดย Thomas Chua สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งกล่าวในการอภิปรายว่าสิงคโปร์นั้นได้นำเข้าสินค้าและบริการออนไลน์มูลค่าประมาณ 225,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2016 ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแสดงให้เห็นว่านี่เป็นตัวเลขที่สำคัญและเมื่อภาษีมูลค่าเพิ่มถูกเรียกเก็บจากผู้ซื้อในจำนวนมากขึ้นจะทำให้ธุรกิจเผชิญกับความกดดันจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการดำเนินงานผลิตด้วย
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังได้โต้กลับว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่โอเวอร์มาก การปรับแก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ GST จะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจส่วนใหญ่ เนื่องจากธุรกิจสามารถขอรับเงินคืนเต็มจำนวนจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่พวกเขาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาสินค้าให้กับธุรกิจของพวกเขา รวมถึงบริการที่ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วย
บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากภาษี GST ในการให้บริการนำเข้าสินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ซึ่งจะไม่ได้รับเงินคืนเต็มจำนวน
Source : straitstimes