4 แนวโน้มอันตรายด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่ควรระวัง
ในโลกไซเบอร์มีเทคโนโลยีและระบบอินเทอร์เน็ตเป็นตัวขับเคลื่อน โดยในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมและการเคลื่อนไหวทางสังคมของผู้คนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาศัยแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เป็นตัวกลางทำให้เราตกอยู่ใต้อิทธิพลของโลกไซเบอร์ ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในปีที่ผ่าน ๆ มาก็ยังไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่ดีมากพอ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีการเตือนเกี่ยวกับการโจมตีของ Ransomware มากมายอย่างเช่น WannaCry แม้จะมีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยและแพทช์อย่างสม่ำเสมอก็ตาม แต่จำนวนการโจมตียังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่เราทำได้คือการระวังและคอยอ่านข่าวเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์นี้เสมอ ซึ่งในวันนี้เราจึงจะนำ 5 แนวโน้มอันตรายด้าน Cybersecurity ที่ควรระวังมาให้ทุกคนได้ตื่นตัวกันมากขึ้น
การโจมตีด้วย AI
ซอฟต์แวร์อย่าง AI หรือ Machine Learning (ML) ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์ มีความสามารถในการเรียนรู้จากผลกระทบของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อช่วยในการคาดเดาและระบุถึงภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์
ตามรายงานของ Webroot มีการใช้ AI เพื่อป้องกันภัยคุกคามในโลกไซเบอร์อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม AI ก็เป็นดาบสองคมเนื่องจาก 91% ของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยกังวลว่าแฮกเกอร์จะใช้ AI เพื่อเปิดการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่นแฮกเกอร์สามารถใช้ AI ในการรวบรวมข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ, AI ยังสามารถช่วยแฮกเกอร์ขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้ เป็นต้น
Ransomware และ IoT
IoT หรือ Internet of Things และ Ransomware เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม แม้ว่าหลาย ๆ องค์กรจะมีการวางแผน เพื่อรับมือกับการโจมตีของ Ransomware แล้วก็ตาม แต่พวกแฮกเกอร์ก็ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนเป้าหมายไปยังอุปกรณ์ IoT แทน และถึงแม้ว่าจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT และข้อมูลที่เก็บรักษาไว้จะได้รับการเข้ารหัสแล้วมันก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี เพราะในขณะนี้แฮกเกอร์เหล่านั้นไม่เพียงแต่จะเรียกค่าไถ่เท่านั้น แต่กลับมีวิธีใหม่ ๆ อย่างการบล็อกการเข้าไฟล์ การลบข้อมูล หรือแม้แต่การขัดขวางการทำธุรกิจ
บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ GDPR
ระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างยิ่ง ในข้อกำหนดการคุ้มครองข้อมูลทั้ง ขอบเขตที่เพิ่มขึ้น, กฎหมายที่ต้องได้รับความยินยอมที่เข้มงวด เป็นต้น
โดยค่าปรับสำหรับการไม่ปฏิบัติตามนั้นสูงถึง 20 ล้านยูโรหรือ 4% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลก – แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
มัลแวร์ที่เลี่ยง Sandbox
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) ได้กลายเป็นวิธีที่นิยมมากขึ้นในการตรวจจับและป้องกันการติดไวรัส อย่างไรก็ตามอาชญากรไซเบอร์กำลังหาหนทางเพิ่มเติมในการหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีนี้
จากที่ได้กล่าวไปนั้น ทำให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์คือ สิ่งที่องค์กรและบริษัทควรให้ความสนใจ เนื่องจากกลุ่มคนมิลเลนเนียน หรือคนที่มีอายุระหว่าง 18-39 ปี สื่อสารกันผ่านโซเชียลมีเดียหรือส่งอีเมลกันเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่พัฒนาเทคโนโลยีอย่าง AI และแอปพลิเคชันเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับคนเหล่านี้ เช่นการโอนเงินผ่านมือถือ การชอปปิ้งออนไลน์ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่หารู้ไม่ว่าความใหม่ของเทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ยังไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ อย่างเช่นระบบยืนยันตัวตน, ระบบชำระเงินยังไม่ปลอดภัย, ไม่มีการตรวจสอบต่อเนื่อง และไม่มีการติดตามข่าวสารด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เป็นต้น