News & Events

Back

“ภาษีครึ่งปี” สำหรับเงินได้บุคคลธรรมดา ใครบ้างที่ต้องยื่น?

29-06-2018 First Section / สังคม -

“ภาษีครึ่งปี” สำหรับเงินได้บุคคลธรรมดา ใครบ้างที่ต้องยื่น?

ภาษีครึ่งปี คืออะไร 

            เราอาจจะเคยได้ยินกันว่า นิติบุคคลจะต้องยื่นภาษีครึ่งปี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระภาษี และเป็นการประมาณรายได้และกำไรที่จะเกิดขึ้นคร่าว ๆ แต่คุณรู้กันไหมว่า นอกเหนือจากการยื่นเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด. 91) ช่วงมกราคม – เมษายนแล้ว ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94) ได้เช่นกัน เป็นการยื่นแบบอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีการนับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน และนำมายื่นและชำระภาษีในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนของปีนั้น ๆ  หลายคนคงสงสัยกันใช่ไหมว่า ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภทใดบ้างที่สามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีนี้ได้ มาดูกันเลย

 

ใครบ้างที่สามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

 

- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5

           คือ ผู้ที่มีรายได้จากการปล่อยเช่า ทั้งเช่าที่ดิน, เช่าบ้าน, ห้องแถว, รถยนต์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ

 

- ผู้ที่มีเงินได้ประเภทที่ 6

           คือ ผู้ที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ ประกอบด้วย นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี, ช่างประณีตศิลป์ และแพทย์หรือพยาบาล

 

- ผู้ที่มีเงินได้ประเภทที่ 7

            คือ ผู้ที่มีรายได้จากการรับเหมา ที่รวมทั้งค่าแรงและค่าอุปกรณ์เครื่องมือ แต่ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ซื้อวัสดุหรือเครื่องมือเอง แล้วจ่ายแค่ค่าแรงให้กับผู้รับเหมา กรณีนี้จะไม่ใช่เงินได้ประเภทที่ 7 ดังนั้นไม่ต้องเสียภาษีครึ่งปี

 

- ผู้ที่มีเงินได้ประเภทที่ 8

            คือ ผู้ที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่นนักแสดง ศิลปิน ขายของออนไลน์ ร้านเสริมสวย ร้านอาหาร และอื่น ๆ รวมทั้งเงินปันผลที่ผู้มีเงินได้ ได้รับจากกองทุนรวม

 

 

​​​​​​​

            สำหรับผู้,uเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวไปข้างต้น สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ได้ที่สำนักกรมสรรพากรพื้นที่ทุกสาขา หรือยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร

บอกต่อ : 
ข่าวที่แนะนำ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ปราบสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์บนกรมทรัพย์สินทางปัญญา แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ปราบสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

12-10-2018
กรมทรัพย์สินทางปัญญา แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ปราบสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์บนกรมทรัพย์สินทางปัญญา แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ปราบสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

            ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้คนส

Back