เจ้าของบริษัทมือใหม่ ควรจดทะเบียนบริษัทในรูปแบบไหนดี?
คำถามยอดฮิตสำหรับคนทำธุรกิจมือใหม่ คงไม่พ้นคำถามที่ว่า “ทำธุรกิจต้องจดทะเบียนบริษัทหรือไม่?” กับ “มือใหม่ควรจดทะเบียนบริษัทอย่างไร หรือทำธุรกิจรูปแบบไหนดี?” ซึ่งสำหรับคำตอบของคำถามแรก เป็นสิ่งสำคัญกับผู้ประกอบการที่เริ่มทำธุรกิจ เพราะการทำธุรกิจต้องจดทะเบียนบริษัทอยู่แล้ว และทุกบริษัทจะต้องเสียภาษี หากคุณไม่ได้จดทะเบียนบริษัททั้งประเภทบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม เมื่อถูกตรวจสอบอาจโดนบทลงโทษ หรือต้องจ่ายค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจดทะเบียนบริษัทกันไว้ดีกว่า
ส่วนคำถามที่ว่า “มือใหม่ ควรจดทะเบียนบริษัทอย่างไร เริ่มด้วยรูปแบบไหน?” อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนามากขึ้น เราจึงสามารถรับ-ส่งเอกสารอะไรก็ได้ง่าย ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับการจดทะเบียนธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนบริษัทได้ทางเว็บไซต์ แต่ก่อนที่จะไปจดทะเบียนคุณต้องทราบก่อนว่า รูปแบบบริษัทแบบใดที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด และเพื่อทำให้คุณตัดสินใจเลือกประเภท สำหรับจดทะเบียนบริษัทได้อย่างถูกต้อง
รูปแบบที่ 1 : กิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการในรูปแบบเจ้าของคนเดียว ความหมายตรงตัวคือ กิจการนั้นมีคุณเป็นเจ้าของและลงทุนคนเดียว ไม่มีใครเข้ามายุ่งเกี่ยวในกิจการหรือธุรกิจของคุณ ดังนั้นรูปแบบนี้ความรับผิดชอบ และผลกำไรจะตกเป็นของคุณเพียงคนเดียว ซึ่งมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่คุณต้องพบเจอเพียงคนเดียว แต่ธุรกิจนี้เป็นรูปแบบธุรกิจที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย เพราะใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ รูปแบบนี้สามารถจดทะเบียนบริษัทเป็นบุคคลธรรมดาได้
รูปแบบที่ 2 : ห้างหุ้นส่วน
ธุรกิจรูปแบบนี้จะใหญ่จากธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวขึ้นมาหน่อย เพราะเป็นธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไป มาทำสัญญาทำธุรกิจร่วมกัน โดยจะมีผลกำไรและความรับผิดชอบเท่ากัน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญา ธุรกิจประเภทนี้เติบโตมาจากกิจการคนเดียวที่ต้องการ มีทุนในการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งกิจการรูปแบบนี้ก็แบ่งได้ 3 รูปแบบด้วยกัน
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนบริษัท ประเภทบุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนบริษัท ประเภทนิติบุคคล
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด (นิติบุคคล)
รูปแบบที่ 3 : บริษัทจำกัด
บริษัทจำกัด คือ เป็นรูปแบบบริษัทที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุน ดังนั้นจึงเป็นการแบ่งหุ้น โดยผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะมีความรับผิดชอบจำกัดอยู่ในจำนวนเงินมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ รูปแบบบริษัทจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากจะมีเงินทุนของเจ้าของธุรกิจแล้ว ยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปให้ถือหุ้นร่วมด้วย
รูปแบบที่ 4 : บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด จะมีความคล้ายคลึงกับบริษัทจำกัด แต่จะมีความพิเศษกว่าตรงที่ บริษัทมหาชนจำกัด มีผู้ก่อธุรกิจตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป, มีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป, มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป หรือมีทุนที่ต้องไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท การธุรกิจรูปแบบนี้อาจยุ่งยากไปสักนิด แต่มันก็แปลว่าธุรกิจของคุณเป็นบริษัทใหญ่และมีความมั่นคง
รูปแบบที่ 5 : สหกรณ์หรือองค์กรธุรกิจจัดตั้ง
สหกรณ์ คือ ธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์เดียวกัน มาช่วยกันทำหน้าที่ในธุรกิจอย่างสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือและขจัดปัญหาความเดือดร้อนในหมู่สมาชิกให้ดียิ่งขึ้น
รูปแบบที่ 6 : รัฐวิสาหกิจ
เป็นหนึ่งในองค์กรของรัฐบาล โดยเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ เรียกได้ว่าเป็นการบริหารงานกึ่งรัฐบาล กึ่งธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจนี้รัฐบาลจะมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละ 50% ซึ่งรูปแบบนี้อาจมีให้เห็นไม่มากเท่าไหร่ เพราะต้องมีรัฐบาลร่วมลงทุนด้วย
คำที่เกี่ยวข้องภาษาไทย :
บัญชี, จดทะเบียนบริษัท, จดทะเบียนการค้า, จองชื่อบริษัท, ทำบัญชี, รับทำบัญชี
คำที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ :
e filing, refund, thailand vat rate, thailand income tax calculator, property tax thailand