รู้หรือไม่? หลังจากจดโดเมน ใครเป็นคนดูแลโดเมน
หนึ่งในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน คือ อินเทอร์เน็ต เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของมัน อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 1969 อินเทอร์เน็ตเติบโตจากระบบคอมพิวเตอร์จากแม่ข่ายเพียงไม่กี่ระบบ แต่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปได้ 10 ล้านเครื่อง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ตจะไม่ได้รับการตรวจสอบและดูแลในรูปแบบต่าง ๆ เพราะในต่างประเทศได้มีการจัดตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรขึ้นในปี 1992 ชื่อว่า “Internet Society” เพื่อกำกับดูแล จัดตั้งนโยบาย และกำหนดวิธีการต่าง ๆ
ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เราสามารถทำการเชื่อมต่อด้วยการระบุเลขที่ IP Address (Internet Protocol) แต่เมื่อระบบออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อไม่สะดวกนัก จึงได้สร้างระบบชื่อโดเมน (DNS) ซึ่งจะจับคู่ชื่อกับ IP Address ดังนั้นการจำที่อยู่ของเว็บไซต์ หรือชื่อโดเมนจึงสะดวกมากยิ่งขึ้น เพียงจดโดเมนด้วยชื่อที่คุณต้องการ อาทิเช่น www.anet.net.th แทนที่ตัวเลขยาก ๆ
ส่วนเหตุผลที่หันมาใช้ระบบชื่อโดเมนนั้น เนื่องจากระบบชื่อโดเมนเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย มีเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นแกนกลางของระบบ ซึ่งต้องมีการบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อโดเมนซ้ำกัน โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานดูแลโดเมน เพื่อรักษาข้อมูลต่าง ๆ ให้กับชื่อโดเมนที่ลงทะเบียน อย่างประเทศไทยจะมีหน่วยงานที่มีชื่อว่า “ทีเอชนิค (THNIC)” ได้รับเลือกให้บริหารจัดการ และดูแลรักษาชื่อโดเมนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และฐานข้อมูลส่วนกลางนี้จะถูกคัดลอกไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บโดเมนระดับบนสุด (TLD) ทั่วโลก ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องมีการจดโดเมนและชำระค่าบริการเป็นรายปี